Monday, March 5, 2007


การแบ่งชั้นบรรยากาศ

นักวิทยาศาสตร์ แบ่งบรรยากาศออกเป็น 4 ชั้น ตามอุณหภูมิ ดังนี้
1. ชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere)
2. ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere)
3. ชั้นเมโซสเฟียร์ (Mesosphere)
4. ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)

ซึ่งลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศชั้นล่างสุด คือ ชั้นโทรโพสเฟียร์เท่านั้น

บรรยากาศ

โลกของเรามีชั้นบางๆของก๊าซต่างๆที่ห่อหุ้มอยู่ เราเรียกชั้นบางๆนี้ว่า "บรรยากาศ" ซึ่งบางมากเมื่อเทียบกับขนาดของโลก ถ้าเทียบกับผลส้มก็จะหนาเท่ากับเปลือกส้มเท่านั้นเอง บรรยากาศมีความหนาแน่นไม่สม่ำเสมอกันตลอดทุกระดับชั้น ที่ระดับพื้นผิวดินจะมีอากาศอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ อากาศจะค่อยๆลดน้อยลง เมื่อขึ้นไปถึงระดับความสูงประมาณ 500 ไมล์ (800 กม.) ในท้องฟ้าแทบจะไม่มีอากาศเหลืออยู่เลย เราเรียกบริเวณนั้นว่า อวกาศ ซึ่งบรรยากาศก็จะกลืนไปกับอวกาศ
ถ้าไม่มีชั้นบรรยากาศนี้ห่อหุ้มโลก ก็จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่บนโลกได้เลยเพราะมนุษย์เราก็เหมือนกับสัตว์ต่างๆ ต้องการอากาศสำหรับหายใจเพื่อการดำรงชีวิต ชั้นบรรยากาศช่วยปกป้องเราไม่ให้แสงแดดแผดเผา หรือแข็งตายเพราะความหนาวเย็นจากอวกาศ ชั้นบรรยากาศนอกจากจะทำให้เกิดมีลมฟ้าอากาศแล้ว ยังมีผลอย่างมากต่อชีวิตเราบนโลกด้วย อากาศที่รวมตัวกันเป็นบรรยากาศ มีก๊าซที่เราและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งหมดต้องการใช้สำหรับหายใจ และทำให้เกิดฝนที่จะให้น้ำสำหรับเราใช้ดื่ม ในอากาศมีก๊าซอยู่หลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ก๊าซออกซิเจน ก๊าซสำคัญในอากาศอีกอย่างหนึ่งคือ ไนโตรเจน และยังมีก๊าซอื่นๆอีกหลายชนิดเจือปนอยู่เล็กน้อย ชนิดหนึ่งคือไฮโดรเจนออกไซด์ หรือเรียกชื่อที่คุ้นเคยกันมากกว่า ก็คือ ไอน้ำ ก๊าซนี้มีอยู่ในปริมาณน้อยมาก แต่มีผลต่อลมฟ้าอากาศอย่างมากมาย ในกลุ่มก๊าซที่เหลือก็ยังมีคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่สิ่งมีชีวิตปล่อยออกมาในเวลาหายออก