Monday, March 5, 2007


การแบ่งชั้นบรรยากาศ

นักวิทยาศาสตร์ แบ่งบรรยากาศออกเป็น 4 ชั้น ตามอุณหภูมิ ดังนี้
1. ชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere)
2. ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere)
3. ชั้นเมโซสเฟียร์ (Mesosphere)
4. ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)

ซึ่งลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศชั้นล่างสุด คือ ชั้นโทรโพสเฟียร์เท่านั้น

บรรยากาศ

โลกของเรามีชั้นบางๆของก๊าซต่างๆที่ห่อหุ้มอยู่ เราเรียกชั้นบางๆนี้ว่า "บรรยากาศ" ซึ่งบางมากเมื่อเทียบกับขนาดของโลก ถ้าเทียบกับผลส้มก็จะหนาเท่ากับเปลือกส้มเท่านั้นเอง บรรยากาศมีความหนาแน่นไม่สม่ำเสมอกันตลอดทุกระดับชั้น ที่ระดับพื้นผิวดินจะมีอากาศอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ อากาศจะค่อยๆลดน้อยลง เมื่อขึ้นไปถึงระดับความสูงประมาณ 500 ไมล์ (800 กม.) ในท้องฟ้าแทบจะไม่มีอากาศเหลืออยู่เลย เราเรียกบริเวณนั้นว่า อวกาศ ซึ่งบรรยากาศก็จะกลืนไปกับอวกาศ
ถ้าไม่มีชั้นบรรยากาศนี้ห่อหุ้มโลก ก็จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่บนโลกได้เลยเพราะมนุษย์เราก็เหมือนกับสัตว์ต่างๆ ต้องการอากาศสำหรับหายใจเพื่อการดำรงชีวิต ชั้นบรรยากาศช่วยปกป้องเราไม่ให้แสงแดดแผดเผา หรือแข็งตายเพราะความหนาวเย็นจากอวกาศ ชั้นบรรยากาศนอกจากจะทำให้เกิดมีลมฟ้าอากาศแล้ว ยังมีผลอย่างมากต่อชีวิตเราบนโลกด้วย อากาศที่รวมตัวกันเป็นบรรยากาศ มีก๊าซที่เราและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งหมดต้องการใช้สำหรับหายใจ และทำให้เกิดฝนที่จะให้น้ำสำหรับเราใช้ดื่ม ในอากาศมีก๊าซอยู่หลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ก๊าซออกซิเจน ก๊าซสำคัญในอากาศอีกอย่างหนึ่งคือ ไนโตรเจน และยังมีก๊าซอื่นๆอีกหลายชนิดเจือปนอยู่เล็กน้อย ชนิดหนึ่งคือไฮโดรเจนออกไซด์ หรือเรียกชื่อที่คุ้นเคยกันมากกว่า ก็คือ ไอน้ำ ก๊าซนี้มีอยู่ในปริมาณน้อยมาก แต่มีผลต่อลมฟ้าอากาศอย่างมากมาย ในกลุ่มก๊าซที่เหลือก็ยังมีคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่สิ่งมีชีวิตปล่อยออกมาในเวลาหายออก

Monday, February 12, 2007

แกนโลกชั้นใน

แกนโลกชั้นใน (inner core) มีความหนาประมาณ 1,270 กม. ประกอบด้วยหินที่มีความถ่วงจำเพาะสูงมาก (ประมาณ 13.3-13.6 ) จึงสันนิษฐานว่าหินนี้มีธาตุนิเกิลและธาตุทีมีความถ่วงจำเพาะสูงอยู่มาก เนื่องจากอยู่ในระดับลึกจึงถูกความดันบีบอัดมากหรือหินนี้อาจหลุดมาจากดาวนพเคราะห์ดวงอื่นและประกอบเป็นแกนโลกภายใน เพราะหินที่มีความถ่วงจำเพาะขนาดนี้ไม่พบในโลก

แกนโลกชั้นนอก

แกนโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาประมาณ 2,200 กม. ประกอบด้วยสารละลายที่ส่วนใหญ่มีธาตุนิเกิลและเหล็ก เรียกสารละลายนี้ว่า ของเหลวหนัก (heavy liquid) มีความถ่วงจำเพาะสูงมาก ประมาณ 10.0-12.3 ตรวจพบว่าคลื่นความไหวสะเทือนที่มีการเคลื่อนที่ตามขวางที่เรียกว่า คลื่นทุติยภูมิหรือคลื่นเอส (S-wave) ไม่ผ่านบริเวณแกนโลกภายนอกจะเกิดการหักเหหมด ซึ่งคุณสมบัติของคลื่นเอสจะไม่ผ่านของเหลวผ่านแต่ของแข็ง

เปลือกโลกชั้นใน

เปลือกโลกชั้นในหรือแมนเทิลอยู่ใต้เปลือกโลกชั้นนอก เป็นชั้นหินร้อนหลอมเหลว มีความหนาแน่นสูง มีอุณหภูมิอยู่ในช่วงตั้งแต่ 500 องศาเซลเซียส ณ บริเวณรอยต่อกับเปลือกโลกชั้นนอก ไปจนถึง 2,200 องศาเซลเซียส ที่บริเวณรอยต่อกับแกนโลก แผ่นเปลือกโลกชั้นนอกนั้นจะลอยเลื่อนไปมาบนแมนเทิลนี้

เปลือกโลกชั้นนอก

เปลือกโลกชั้นนอกคือพื้นผิวโลกที่เราอาศัยอยู่นั่นเอง ความจริงเป็นชั้นที่บางมากเมื่อเทียบกับรัศมีของโลก(ดูรูปตัดภายในโลก) ถ้าเปรียบโลกเป็นลูกแอปเปิ้ล เปลือกโลกก็คือเปลือกแอปเปิ้ล ความหนาของเปลือกโลกบริเวณพื้นสมุทรมีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 8 กิโลเมตรและบริเวณพื้นทวีปจะมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 40 กิโลเมตรเท่านั้น ในขณะที่ความลึกถึงใจกลางโลกจะลึกมากถึง 6,370 กิโลเมตร ที่ระดับความลึก 40 กิโลเมตรซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างเปลือกโลกชั้นนอกและเปลือกโลกชั้นในจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 500 องศาเซลเซียส เปลือกโลกชั้นนอกประกอบด้วยชั้นดินบางๆ และส่วนที่เหลือเป็นชั้นหิน เปลือกโลกส่วนพื้นสมุทรส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ เปลือกโลกส่วนพื้นทวีปส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินแกรนิต เมื่อเจาะลึกลงไปในผิวโลกจะพบชั้นหินวางตัวซ้อนกันเป็นชั้นๆ ชั้นหินที่มีอายุน้อยที่สุดจะอยู่ตอนบนสุด ลึกลงไปมากขึ้นหินจะมีอายุมากขึ้น อายุของหินชั้นต่างๆใช้บอกอายุของโลกได้
รูปชั้นต่างๆของเปลือกโลก
ถ้าพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกโลกโดยน้ำหนักจะพบว่าในเปลือกโลกจะประกอบด้วยธาตุต่างๆ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยคือมีธาตุออกซิเจน 46.5 % ธาตุซิลิกอน 28.9% อลูมิเนียม 8.3 % เหล็ก 4.8% แคลเซียม 4.1% โปตัสเซียม 2.4% โซเดียม 2.3% และแมกนีเซียม

ส่วนประกอบของโลก


ในขณะที่เราสามารถเดินทางไปในอวกาศเป็นระยะทางหลายแสนกิโลเมตรแต่ไม่มีใครสามารถเดินทางเข้าไปในโลกได้ลึกมากสักเท่าใด เหมืองที่ลึกที่สุดที่มนุษย์สามารถขุดลงไปได้ลึกไม่เกิน 4 กิโลเมตร และในการเจาะบ่อน้ำมันนั้นก็เจาะลึกไปไม่ถึง 8 กิโลเมตร ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภายในโลกลึกๆ นั้นเราได้มาจากหลักฐานทางอ้อม ได้แก่การวัดมวล การวัดปริมาตรและการวัดความหนาแน่นเฉลี่ยของโลกโดยทางกายภาพ จากการสังเกตคลื่น seismic waves ที่ได้ผ่านเข้าไปภายในโลกในชั้นลึกๆ จากการสังเกตสะเก็ตดาว และวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ จากการศึกษาทดลองวัสดุธรรมชาติ ณ อุณหภูมิและความดันสูงเหมือนภายในโลก และจากการศึกษาสนามแม่เหล็กของโลก

จากข้อมูลการศึกษาดังกล่าว ทำให้แบ่งส่วนประกอบของโลกได้เป็นชั้นๆ ที่สำคัญ 4 ชั้น คือ

1. เปลือกโลกชั้นนอก (earth crust)

2. เปลือกโลกชั้นใน (mantle)
3. แกนโลกชั้นนอก (outer core)
4. แกนโลกชั้นใน (inner core)

โลก




ส่วนที่เป็นแผ่นดินก็จะมีภูมิประเทศแตกต่างกันไปเช่น เป็นที่สูงเต็มไปด้วยภูเขา หรือเป็นที่ราบลุ่ม โลกของเรายังร้อนระอุอยู่จากหลักฐานที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจน คือการระเบิดของภูเขาไฟที่มีลาวาหรือหินร้อนหลอมเหลวไหลประทุออกมา หลักฐานนี้แสดงว่าภายในแกนโลกร้อนมากจนทำให้หินหลอมละลายได้โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์
โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 %
สัญลักษณ์ของโลกประกอบด้วยกากบาทที่ล้อมด้วยวงกลม โดยเส้นตั้งและเส้นนอนของกากบาทจะแทนเส้นเมอริเดียนและเส้นศูนย์สูตรตามลำดับ สัญลักษณ์อีกแบบของโลกจะวางกากบาทไว้เหนือวงกลมแทน (ยูนิโคด: ⊕ หรือ ♁)