Monday, February 12, 2007

แกนโลกชั้นใน

แกนโลกชั้นใน (inner core) มีความหนาประมาณ 1,270 กม. ประกอบด้วยหินที่มีความถ่วงจำเพาะสูงมาก (ประมาณ 13.3-13.6 ) จึงสันนิษฐานว่าหินนี้มีธาตุนิเกิลและธาตุทีมีความถ่วงจำเพาะสูงอยู่มาก เนื่องจากอยู่ในระดับลึกจึงถูกความดันบีบอัดมากหรือหินนี้อาจหลุดมาจากดาวนพเคราะห์ดวงอื่นและประกอบเป็นแกนโลกภายใน เพราะหินที่มีความถ่วงจำเพาะขนาดนี้ไม่พบในโลก

แกนโลกชั้นนอก

แกนโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาประมาณ 2,200 กม. ประกอบด้วยสารละลายที่ส่วนใหญ่มีธาตุนิเกิลและเหล็ก เรียกสารละลายนี้ว่า ของเหลวหนัก (heavy liquid) มีความถ่วงจำเพาะสูงมาก ประมาณ 10.0-12.3 ตรวจพบว่าคลื่นความไหวสะเทือนที่มีการเคลื่อนที่ตามขวางที่เรียกว่า คลื่นทุติยภูมิหรือคลื่นเอส (S-wave) ไม่ผ่านบริเวณแกนโลกภายนอกจะเกิดการหักเหหมด ซึ่งคุณสมบัติของคลื่นเอสจะไม่ผ่านของเหลวผ่านแต่ของแข็ง

เปลือกโลกชั้นใน

เปลือกโลกชั้นในหรือแมนเทิลอยู่ใต้เปลือกโลกชั้นนอก เป็นชั้นหินร้อนหลอมเหลว มีความหนาแน่นสูง มีอุณหภูมิอยู่ในช่วงตั้งแต่ 500 องศาเซลเซียส ณ บริเวณรอยต่อกับเปลือกโลกชั้นนอก ไปจนถึง 2,200 องศาเซลเซียส ที่บริเวณรอยต่อกับแกนโลก แผ่นเปลือกโลกชั้นนอกนั้นจะลอยเลื่อนไปมาบนแมนเทิลนี้

เปลือกโลกชั้นนอก

เปลือกโลกชั้นนอกคือพื้นผิวโลกที่เราอาศัยอยู่นั่นเอง ความจริงเป็นชั้นที่บางมากเมื่อเทียบกับรัศมีของโลก(ดูรูปตัดภายในโลก) ถ้าเปรียบโลกเป็นลูกแอปเปิ้ล เปลือกโลกก็คือเปลือกแอปเปิ้ล ความหนาของเปลือกโลกบริเวณพื้นสมุทรมีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 8 กิโลเมตรและบริเวณพื้นทวีปจะมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 40 กิโลเมตรเท่านั้น ในขณะที่ความลึกถึงใจกลางโลกจะลึกมากถึง 6,370 กิโลเมตร ที่ระดับความลึก 40 กิโลเมตรซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างเปลือกโลกชั้นนอกและเปลือกโลกชั้นในจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 500 องศาเซลเซียส เปลือกโลกชั้นนอกประกอบด้วยชั้นดินบางๆ และส่วนที่เหลือเป็นชั้นหิน เปลือกโลกส่วนพื้นสมุทรส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ เปลือกโลกส่วนพื้นทวีปส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินแกรนิต เมื่อเจาะลึกลงไปในผิวโลกจะพบชั้นหินวางตัวซ้อนกันเป็นชั้นๆ ชั้นหินที่มีอายุน้อยที่สุดจะอยู่ตอนบนสุด ลึกลงไปมากขึ้นหินจะมีอายุมากขึ้น อายุของหินชั้นต่างๆใช้บอกอายุของโลกได้
รูปชั้นต่างๆของเปลือกโลก
ถ้าพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกโลกโดยน้ำหนักจะพบว่าในเปลือกโลกจะประกอบด้วยธาตุต่างๆ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยคือมีธาตุออกซิเจน 46.5 % ธาตุซิลิกอน 28.9% อลูมิเนียม 8.3 % เหล็ก 4.8% แคลเซียม 4.1% โปตัสเซียม 2.4% โซเดียม 2.3% และแมกนีเซียม

ส่วนประกอบของโลก


ในขณะที่เราสามารถเดินทางไปในอวกาศเป็นระยะทางหลายแสนกิโลเมตรแต่ไม่มีใครสามารถเดินทางเข้าไปในโลกได้ลึกมากสักเท่าใด เหมืองที่ลึกที่สุดที่มนุษย์สามารถขุดลงไปได้ลึกไม่เกิน 4 กิโลเมตร และในการเจาะบ่อน้ำมันนั้นก็เจาะลึกไปไม่ถึง 8 กิโลเมตร ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภายในโลกลึกๆ นั้นเราได้มาจากหลักฐานทางอ้อม ได้แก่การวัดมวล การวัดปริมาตรและการวัดความหนาแน่นเฉลี่ยของโลกโดยทางกายภาพ จากการสังเกตคลื่น seismic waves ที่ได้ผ่านเข้าไปภายในโลกในชั้นลึกๆ จากการสังเกตสะเก็ตดาว และวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ จากการศึกษาทดลองวัสดุธรรมชาติ ณ อุณหภูมิและความดันสูงเหมือนภายในโลก และจากการศึกษาสนามแม่เหล็กของโลก

จากข้อมูลการศึกษาดังกล่าว ทำให้แบ่งส่วนประกอบของโลกได้เป็นชั้นๆ ที่สำคัญ 4 ชั้น คือ

1. เปลือกโลกชั้นนอก (earth crust)

2. เปลือกโลกชั้นใน (mantle)
3. แกนโลกชั้นนอก (outer core)
4. แกนโลกชั้นใน (inner core)

โลก




ส่วนที่เป็นแผ่นดินก็จะมีภูมิประเทศแตกต่างกันไปเช่น เป็นที่สูงเต็มไปด้วยภูเขา หรือเป็นที่ราบลุ่ม โลกของเรายังร้อนระอุอยู่จากหลักฐานที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจน คือการระเบิดของภูเขาไฟที่มีลาวาหรือหินร้อนหลอมเหลวไหลประทุออกมา หลักฐานนี้แสดงว่าภายในแกนโลกร้อนมากจนทำให้หินหลอมละลายได้โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์
โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 %
สัญลักษณ์ของโลกประกอบด้วยกากบาทที่ล้อมด้วยวงกลม โดยเส้นตั้งและเส้นนอนของกากบาทจะแทนเส้นเมอริเดียนและเส้นศูนย์สูตรตามลำดับ สัญลักษณ์อีกแบบของโลกจะวางกากบาทไว้เหนือวงกลมแทน (ยูนิโคด: ⊕ หรือ ♁)